ข้อมูล อบต.

ประวัติความเป็นมา

    เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2459 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย รับบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ดำรัสเหนือเกล้า ได้ประกาศจัดตั้ง ตำบลหนองกะปุ อำเภอท่าช้าง จังหวัดเพชรบุรี และต่อมาในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2482 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่งเปลี่ยนชื่ออำเภอท่าช้าง เป็นอำเภอบ้านลาด จึงได้เปลี่ยนเป็น ตำบลหนองกะปุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

    เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2515 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ตำบลหนองกะปุ จึงจัดตั้งสภาตำบล เป็น สภาตำบลหนองกะปุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

    เมื่อวัน ที่ 12 ธันวาคม 2539 ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เนื่องด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้กำหนดเขตตำบลภายในท้องที่ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 กำหนดเขตตำบลหนองกะปุ ในท้องที่อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยให้มี เขตการปกครอง รวม 9 หมู่บ้าน

    เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยองค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติ บุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 โดยยกฐานะจากสภาตำบล ที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ได้ยกฐานะจากสภาตำบลหนองกะปุ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ จนถึงปัจจุบัน

    เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเป็นการยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบล อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 41 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศยุบสภาตำบลโดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีการรวม สภาตำบลห้วยข้อง รวมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ที่ทำการเดิมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ได้ใช้สถานที่ของสภาตำบลหนองกะปุเป็นที่ทำการชั่วคราว ซึ่งปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลได้มีที่ทำการแล้ว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยข้อง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ใช้เป็นที่ทำการจนถึงปัจจุบันนี้

























วิสัยทัศน์และพันธกิจ

    วิสัยทัศน์

    “ ตำบลหนองกะปุเป็นชุมชนน่าอยู่มีความสามัคคีควบคู่ไปกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่สมดุลเศรษฐกิจดีและมั่นคงมีการบริหารจัดการที่โปร่งใสจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ”

    คำขวัญ

เขาแด่นสูงตระหง่าน น้ำตาลหวานมีชื่อ เลื่องลือประเพณี เศรษฐกิจดีและมีส่วนร่วม

    พันธกิจ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ 

    พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในมาตรา 66 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ได้กำหนดภารกิจหลักที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ดังนี้

    1.ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค ระบบสาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต

    2.ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

    3.พัฒนาด้านสังคมการศึกษาตลอดจนอนุรักษ์ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามภูมิปัญญาของท้องถิ่น และการสาธารณสุขให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

    4.ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการตลอดจนความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน

    5. ฟื้นฟูวิถีชีวิตเกษตรกรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

    6. รักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนควบคู่กับวิถีชีวิตชุมชน

    ยุทธศาสตร์

    องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้สามารถดำเนินการไปสู่วิสัยทัศน์ที่ กำหนดไว้โดยกำหนดยุทธศาสตร์หลักไว้ 8 ยุทธศาสตร์ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

    1. แนวทางการพัฒนาก่อสร้าง ปรับปรุงบำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ เขื่อน ผนังกั้นดิน ศาลาที่พักริมทาง

    2.แนวทางการพัฒนาขยายเขตไฟฟ้า ติดตั้ง และซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ

    3.แนวทางการพัฒนาระบบจราจร จัดทำป้ายบอกเขตและป้ายซอย ป้ายเตือนต่างๆ

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม และพัฒนาคุณภาพชีวิต

    1. แนวทางการจัดสวัสดิการสังคม และสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส

    2. แนวทางการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

    3. แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก สตรี เยาวชน และคนชรา

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

    1. แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

    2. แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพและการผลิต ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค

    3. แนวทางการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการท่องเที่ยว

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม

    1. แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการประชาสังคมทุกระดับ

    2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

    3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาและจัดเก็บรายได้

    4. แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ พร้อมนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมา ให้บริการประชาชน

    5. แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลชุมชน

    6. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    7. แนวทางการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน

    8. แนวทางการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ า

    1. แนวทางการขุดลอกคลอง ก่อสร้างคลองดาด สร้างคลองส่งน้ำ

    2. แนวทางการจัดหาน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตร

    3. แนวทางการรับโอน ปรับปรุงและซ่อมแซมประปาหมู่บ้าน ตามความพร้อมในการถ่ายโอนของแต่ละหมู่บ้าน

6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    1. แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    2. แนวทางการบำบัดและจัดการขยะ

    3. แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม

    4. แนวทางการปรับปรุงระบบระบายน้ำทิ้งในชุมชน

7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนันทนาการ

    1. แนวทางการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของคนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเสมอภาค

    2. แนวทางการส่งเสริมงานวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น

    3. แนวทางการส่งเสริมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของศาสนาทุกศาสนา

    4. แนวทางการจัดหาสนามกีฬา และสถานที่ออกกำลังกายในแต่ละหมู่บ้าน

8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข

    1. แนวทางการส่งเสริมการให้ความรู้ในการป้องกันและระงับโรค

    2. แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

    3. แนวทางการส่งเสริมศักยภาพผู้นำด้านการสาธารณสุข

เป้าประสงค์

    1. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ผังเมือง ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

    2. ยกระดับคุณภาพชีวิตในเรื่องต่างๆ ให้เป็นที่พอใจของประชาชน

    3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

    4. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน

    5. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรอย่างพอเพียง

    6. รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

    7. ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน

    8. ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชน








ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 1 บ้านบ่อหมัน 190 250 267 517 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 2 บ้านไร่แค 120 225 260 485 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 3 บ้านโพธิ์ลอย 116 168 181 349 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 4 บ้านโป่ง 109 160 196 356 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 5 บ้านหนองกะปุ 185 300 343 643 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 6 บ้านโป่งสลอด 182 299 341 640 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 7 บ้านไร่ตะแกง 110 186 190 376 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 8 บ้านห้วยแลง 124 194 180 374 คน
ตำบลหนองกะปุ หมู่ที่ 9 บ้านใหม่โพธิ์ลอย 161 209 239 448 คน
ตำบลห้วยข้อง หมู่ที่ 1 บ้านห้วยข้อง 88 130 131 261 คน
ตำบลห้วยข้อง หมู่ที่ 2 บ้านเหียงค่อม 80 118 133 251 คน
ตำบลห้วยข้อง หมู่ที่ 3 บ้านหนองโสน 217 341 343 684 คน
ข้อมูลรวม : คน













สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

    องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอบ้านลาดไปทางทิศตะวันตก

เป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร

อาณาเขต

    ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านลาด

จังหวัดเพชรบุรี ตำบลหนองกะปุ มีอาณาเขตดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

     สภาพพื้นที่ทางตอนกลางของตำบลเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนทางทิศตะวันตกเป็น ภูเขาสลับป่าไม้

ได้แก่ ป่ายางหัก – เขาปุ้ม เขาแด่นใหญ่ และเขาแด่นน้อย

ลักษณะภูมิอากาศ

    สภาพภูมิอากาศมี 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม

    ฤดูฝน เริ่มเดือน มิถุนายน – กันยายน

    ฤดูหนาว เริ่มเดือน ตุลาคม – มกราคม

ลักษณะของดิน

    สภาพดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย และ ดินเหนียว

ลักษณะของแหล่งน้ำ

    แหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ซึ่งมีการพัฒนาให้อยู่ในสภาพที่

สามารถใช้การได้ มีดังนี้   

    - แหล่งน้ำธรรมชาติ   มีลำน้ำ ลำห้วย     3    สาย

    1. คลองบางจาก     

    2. ลำห้วยทราย     

    3. ลำห้วยใหญ่

การเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง

    องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ มีเนื้อที่ประมาณ 58.29 ตร.กม. ประกอบไปด้วย 2 ตำบล คือ ตำบลหนองกะปุ มีเนื้อที่ประมาณ 29.79 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 18,619 ไร่) มีหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน และ ตำบลห้วยข้อง มีเนื้อที่ประมาณ 28.50 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 17,812 ไร่) มีหมู่บ้าน จำนวน 3 หมู่บ้าน

    ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านทาน ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจาก เนิน 293 เขาเนินเขมร ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณพิกัด N Q 824451 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวร่อง น้ำผ่านยอดเขาพระใน เชิงเขาพระนอกด้านทิศใต้ ตามลำห้วยเรือ ตัดกับถนน สายโพธิ์ลอย – ไร่โคก ที่บริเวณพิกัด N Q 929449 ไปทางทิศเหนือตามคันนนาจดลำห้วยบางจาน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวคันนาตัดกับ ถนนสายวังบัว – โป่งสลอดบริเวณที่นานายอ่าน ยิ้มรอด ด้านทิศเหนือ บริเวณพิกัด N Q 935452 ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวคันนา ตัดกับห้วยทานที่บริเวณพิกัด N Q 951439 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตาม แนวทันนา สิ้นสุดที่ทางเข้าโรงพยาบาลบ้านลาด บริเวณพิกัด N Q 962434 รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ 15 กิโลเมตร

    ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าช้าง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากทางเข้า โรงพยาบาลบ้านลาด บริเวณพิกัด N Q 962434 ไปทางทิศใต้ตามแนวถนนภายในหมู่บ้านตัดกับถนน สายบ้าน ลาด – โพธิ์ลอย ที่บริเวณพิกัด N Q 961428 ไปทางทิศใต้ตามแนวทางเกวียนบ่อชลมั่ง สิ้นสุดที่บ้านพัก ชลประทาน (วัดบ่อบุญ) บริเวณพิกัด N Q 962426 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร

    ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลห้วยลึก อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากจุดบรรจบห้วยหัว รอ กับห้วยใหญ่บริเวณพิกัด N Q 922398 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวห้วยใหญ่ ตัดกับถนน สายโพธิ์ลอย – วัด ตึก ที่บริเวณพิกัด N Q 915394 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวห้วยใหญ่ ผ่านบ้านเนินจดแนวเขาแด่น บริเวณพิกัด N Q 889378 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวสันเขาแด่นผ่านเนิน 272 ไปตามแนวสันเขาผ่านยอดเขาอาพัดนอก สิ้นสุดที่เชิงเขาอาพัดนอกด้านทิศตะวันตก บริเวณพิกัด N Q 812414 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 14 กิโลเมตร

    ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลท่าตะคล้อ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจาก เชิงเขาอาพัดนอกด้านทิศตะวันตก บริเวณพิกัด N Q 812414 ไปทางทิศเหนือตามแนวเชิงเขาอาพัดนอกกับเขาอาพัดใน สิ้นสุดที่เชิงเขาอาพัดในด้านทิศเหนือ บริเวณพิกัด N Q 811431 ไปทางทิศเหนือตามแนวร่องน้ำเขาดงและเขาไร่ สิ้นสุดที่เนินเขา 293 เขาเนินเขมร บริเวณพิกัด N Q 824451 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ 4.8 กิโลเมตร

การเลือกตั้ง  

    แบ่งเขตการเลือกตั้ง ตำบลหนองกะปุ จำนวน 9 เขต ตำบลห้วยข้อง จำนวน 3 เขต




























สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

สภาพเศรษฐกิจ

    การเกษตร ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง

พืชผลที่สำคัญนิยมปลูก คือ กล้วย แตงโม มะเขือเทศ ผักต่าง ๆ ฯลฯ

    การประมง (ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุไม่มีการประมง) มีเพียงการจับปลาใน แหล่งน้ำสาธารณะจำหน่วย ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ

    การปศุสัตว์ มีการเลี้ยง วัว แพะ หมู ไก่ เป็น

    - มีฟาร์มไก่พันธ์เนื้อ             จำนวน 1 แห่ง

    - มีฟาร์มเป็ด                      จำนวน 3 แห่ง

    การบริการ

    1. บ้านเช่า                        จำนวน 1 แห่ง

    2. ร้านอาหาร                     จำนวน 9 แห่ง

    การท่องเที่ยว คือ จุดชมวิวเขาแด่น หมู่ที่ 2 บ้านเหียงค่อม ตำบลห้วยข้อง

    อุตสาหกรรม (ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุไม่มีการอุตสาหกรรม)

    การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การพาณิชย์

    - กลุ่มอาชีพ                             จำนวน      2   กลุ่ม

    - กลุ่มเพาะเห็ด

    - กลุ่มขนมทองม้วน

    - ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโป่งสลอด

    - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารเมล็ดพันธ์ข้างชุมชน ต.หนองกะปุ

    - กลุ่มออมทรัพย์                         จำนวน     5   กลุ่ม

    - กลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองโสน

    - กลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองกะปุ

    - กลุ่มออมทรัพย์บ้านโพธิ์ลอย

    - กลุ่มออมทรัพย์บ้านเหียงค่อม

    - กลุ่มออมทรัพย์บ้านห้วยข้อง

    - กลุ่มสตรีตำบล                           จำนวน     2 กลุ่ม

    - กลุ่มสตรีตำบลหนองกะปุ

    - กลุ่มสตรีตำบลห้วยข้อง

    - ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองกะปุ

    - ชมรมผู้สูงอายุตำบลห้วยข้อง

    - สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโพธิ์ลอยพัฒนา จำกัด

    - กองทุนหมู่บ้าน                         จำนวน 12 กลุ่ม

    แรงงาน ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรรม รับจ้างทั่วไป

สภาพทางสังคม

    สาธารณสุข

    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง

    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกะปุ

    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยข้อง

    - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 %

    ยาเสพติด ปัญหายาเสพติดในชุมชนพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ จากการที่ทางสถานี ตำรวจภูธรไร่สะท้อนได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุทราบนั้นพบว่าในเขตพื้นที่มีผู้ที่ติดยาเสพติด แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของพื้นที่สามารถทำได้ เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด

    การสังคมสงเคราะห์ มีการดูแลผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว พร้อมทั้งประสานกับหน่วยงานอื่นเพื่อขอรับการช่วยเหลืออีกทาง



สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

    การศึกษา

    - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง

    - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ลอย

        บุคลากร จำนวน 3 คน

        เด็ก จำนวน 42 คน

    - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอด

        บุคลากร จำนวน 2 คน

        เด็ก จำนวน 10 คน

    - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านหนองโสน

        บุคลากร จำนวน 1 คน

        เด็ก จำนวน 7 คน

    (ข้อมูล ระบบสถิติทางการทะเบียน เดือน ธันวาคม พ.ศ.2561)

    - โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง

    - โรงเรียนวัดโพธิ์ลอย ครู 15 คน เด็ก 119 คน

    - โรงเรียนบ้านโป่งสลอด ครู 5 คน เด็ก 98 คน

    - โรงเรียนบ้านหนองโสน ครู 3 คน เด็ก 41 คน

    - โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส ม.1 – ม.3) จำนวน 1 แห่ง

    - โรงเรียนวัดโพธิ์ลอย

    - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง

    - หอกระจายข่าว จำนวน 11 แห่ง

    ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

    การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด จำนวน 3 แห่ง

    1. วัดโพธิ์ลอย หมู่ที่ 3 บ้านโพธิ์ลอย ตำบลหนองกะปุ

    2. วัดไทรทอง หมู่ที่ 3 บ้านห้วยข้อง ตำบลห้วยข้อง

    3. วัดเนินหนองโสน (เข้าเจ้าราม) หมู่ที่ 3 บ้านห้วยข้อง ตำบลห้วยข้อง

    ประเพณีและงานประจำปี

    1. วันสงกรานต์

    2. วันลอยกระทง

    3. ไทยทรงดำ

    4. สลากภัต

    5. การทอดกระฐิน

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

    1. นวดแผนไทย จำนวน 3 ราย

    2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น

    - แตรวง ดนตรีไทย กลองยาว จำวน 6 ราย

    3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาช่าง

    - ช่างไม้ จำนวน 1 ราย

    4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาช่าง

    - ช่างหัตถกรรม/จักรสาน จำนวน 1 ราย

    5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาช่าง

    - ช่างหัตถกรรม/จักรสาน จำวน 2 ราย

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น น้ำตาลโตนด จำนวน 1 ราย

    7. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาช่าง

    - ช่างไม้ แกะสลัก จำนวน 1 ราย

    สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

    1. น้ำตาลโตนด หมู่ที่ 2 บ้านไร่แคร์ ตำบลหนองกะปุ

    2. ทองม้วน หมู่ที่ 9 บ้านใหม่โพธิ์ลอย ตำบลหนองกะปุ



การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การบริการพื้นที่

    การคมนาคมขนส่ง

    - มีถนนสายหลักตัดผ่านตำบล จำนวน 4 สาย

    1. สายบ้านลาด – โพธิ์ลอย ( รพช.2002)

    2. สายโพธิ์ลอย - หัวนา

    3. สายวังบัว - โป่งสลอด

    4. สายโพธิ์ลอย – มะขามโพรง

    - ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบ

    1. ถนนดิน ถนนลูกรัง จำนวน 26 สาย

    2. ถนนคอนกรีต จำนวน 89 สาย

    3. ถนนลาดยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต จำนวน 14 สาย

    4. สะพานคอนกรีต จำนวน 5 แห่ง

    การไฟฟ้า

    - มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน ทั้ง ตำบลหนองกะปุ จำนวน 9 หมู่บ้าน ตำบลห้วยข้อง 3 หมู่บ้าน

    - ในส่วนไฟฟ้าสาธารณะตามริมถนน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ มีหน้าที่รับผิดชอบในการขยาย เขตไฟฟ้าสาธารณะ บำรุงรักษาตามความจำเป็นอันจะต้องสอดคล้องกับงบประมาณ

    การประปา

    - การบริหารด้านประปาหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง

    ตำบลหนองกะปุ

    1. หมู่ที่ 1 บ้านบ่อหมัน

    2. หมู่ที่ 2 บ้านไร่แค

    3. หมู่ที่ 3 บ้านโพธิ์ลอย , หมู่ที่ 4 บ้านโป่ง หมู่ที่ 8 บ้านห้วยแลง หมู่ที่ 9 บ้านใหม่โพธิ์ลอย

    4. หมู่ที่ 5 บ้านหนองกะปุ

    5. หมู่ที่ 6 บ้านโป่งสลอด

    6. หมู่ที่ 7 บ้านไร่ตะแคง

    ตำบลห้วยข้อง

    1. หมู่ที่ 1 บ้านห้วยข้อง

    2. หมู่ที่ 2 บ้านเหียงค่อม

    3. หมู่ที่ 3 บ้านหนองโสน

    โทรศัพท์ ประเภทการสื่อสารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ ประกอบด้วย

    - ประชากรมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) ใช้ทุกครัวเรือน

    ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุครุภัณฑ์ ใช้บริการไปรษณีย์ของอำเภอบ้านลาด

ทรัพยากรธรรมชาต

    น้ำ

    1. คลองบางจาก

    2. ลำห้วยทราย

    3. ลำห้วยใหญ่

    ป่าไม้ ป่ายางหัก – เขาปุ้ม เขาแด่นใหญ่ และเขาแด่นน้อย

    ภูเขา เขาปุ้ม เขาแด่นใหญ่ และเขาแด่นน้อย

    คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ เขาปุ้ม เขาแด่นใหญ่ และเขาแด่นน้อย


























• หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

• ตรวจสอบภายใน

• วัฒนธรรมองค์กร

- > มาตรฐานการให้บริการ

- > มาตรฐานการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ

• หนังสือเวียนภายใน

• การบริหารทรัพยากรบุคคล

นโยบายการบริหาร
ทรัพยากรบุคคล


การดำเนินการตามนโยบาย
การบริหารทรัพยากรบุคคล


หลักเกณฑ์การบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคล


รายงานผลการบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคลประจําปี