ความเข้าใจเกี่ยวกับการพ่นหมอกควัยกำจัดยุงลาย
25 ตุลาคม 2566ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
วันนี้พาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายกันค่ะ
ว่าทำไมภาครัฐจึงไม่พ่นหมอกควัญกำจัดยุงลายบ่อยๆ
1. การพ่นควันเพื่อฆ่ายุง ต้องพ่น "ในบ้าน" และ "ข้างๆบ้าน"
เพราะยุงลาย จะอาศัยในบ้านเป็นหลัก การไปพ่นลงท่อ ไปพ่นรอบบ้าน จะไม่ค่อยเกิดประโยชน์ อีกทั้งยังสิ้นเปลือง
และหากพ่นบริเวณในบ้านจะมีกลิ่นเหม็นมาก ติดเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ สร้างความลำบากใจแก่เจ้าของบ้าน
2. สารเคมีที่ใช้ ยุงจะมีความสามารถทนทานได้เพิ่มขึ้นในทุกๆปี
ถ้าพ่นบ่อยเกินไปจะทำให้ยุงดื้อยา (โดนควันเข้าไปแล้วสลบ พอผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมงก้อจะบินต่อได้)
ดังนั้นควรใช้ให้น้อยที่สุดค่ะ ไม่อย่างนั้นต่อไปเราจะเจอปรากฎการณ์ยุงที่พ่นไบกอนใส่แล้วไม่ตาย
3. เป้าหมายของการพ่นที่จริงแล้ว ไม่ใช่การกำจัดยุง
เพราะยุงจะมีวงจรชีวิต 120 วัน
ลูกน้ำในน้ำ มีระยะจากไข่มาเป็นตัวยุง 7-14 วัน
เราพ่นวันนี้ เรากำจัดยุงได้หมดชุดแรก แต่ภายใน 7 วัน จะมียุงชุดใหม่ในปริมาณเท่าเดิมเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าเราไม่กำจัดยุงในน้ำ
และถ้าหากเราพ่นทุกวันในระยะเวลา 1 เดือน
ก้อจะไม่ได้ผลเช่นกัน
เพราะไข่ยุง สามารถอยู่ในระยะพักในที่ที่ไม่มีน้ำได้เป็นเดือนๆ
ดังนั้นพ่นกำจัดยุงไป ก้อจะมีไข่ชุดใหม่ฟักมาเรื่อยๆ
4. เป้าหมายการพ่น คือการฆ่ายุงที่มีเชื้อไข้เลือดออก
การพ่นยา จะทำเฉพาะเมื่อมีรายงานจากโรงพยาบาลว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก
ซึ่งไข้เลือดออกเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาการเหมือนหวัดทั่วไป ตรวจเลือดก็ไม่รู้
การตรวจเลือดเจอว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก1คน นั่นหมายความว่าว่าจริงๆแล้วมีคนเป็นไข้เลือดออกชนิดเบาอีกเป็น10คนในละแวกนั้น
การตรวจเลือดพบว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก 1 คน แปลว่ายุงในละแวกนั้นต้องมีเชื้ออย่างแน่นอน
ดังนั้นเราจึงควรทำการพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงที่มีเชื้อ ในช่วง2-3วันนั้น ยุงที่มีเชื้อและบินได้จะตายไปจนหมด
เป็นการรีเซ็ทให้การระบาดช้าลง
แต่ถามว่าจะป้องกันได้หมดไหม ... ก้ออาจจะไม่ได้100% เพราะเชื้อไข้เลือดออกถ่ายทอดจากยุงตัวแม่ไปสู่ไข่ได้
ยุงที่เพิ่งขึ้นจากน้ำก็มีเชื้อได้เช่นกัน
*******ดังนั้นการพ่นหมอกควัน เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
การแก้ที่ต้นเหตุคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัดค่ะ ********
ซึ่งมีวิธีการอยู่หลายรูปแบบในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ขอยกตัวอย่างดังนี้นะคะ
การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
1.ปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อน อะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้
และหมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็กๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่างๆที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ
2. ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ ใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานกระถางต้นไม้นั้น เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกระถางต้นไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก 7 วัน
3. การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้
4. บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่มืดๆ อับๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตุว่ารดน้ำมากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า และพยายามเทน้ำทิ้งบ่อยๆ
5. ในส่วนของบ้านพักที่อยู่อาศัยควรมีลักษณะที่โล่งโปร่ง ไม่เป็นที่พักของยุงลาย
ในส่วนนี้ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน google หรือแหล่งข้อมูลตามสถานพยาบาลค่ะ